Feeds:
เรื่อง
ความเห็น

Archive for สิงหาคม 7th, 2009

ถ้าใครได้อ่านบทความโรคเชื้อราที่เล็บว่ามีอาการอย่างไร สาเหตุเกิดจากอะไร  ส่วนเรานั้นเข้าใจแจ่มแจ้งเลยล่ะ เพราะประสบการณ์ตรงกำลังเป็นอยู่เลย  ถึงได้โพสบทความนี้ขึ้นมา  คิดแล้วมันน่าเศร้าจริง ๆ   เฮ้อ  (เป็นที่เท้าเศร้าเข้าไปใหญ่รักษานานเป็นปีเลย ฮือๆ..)  แต่ไม่ท้อหรอก  ปีนึงแป๊ปเดียวเอง  แล้วเดียวนี้ก็มียาที่ช่วยให้หายเร็วขึ้น  ใครเป็นอยู่สู้ ๆ  มารักษาด้วยกันนะ

แนวทางการรักษาเชื้อราที่เล็บ

  1. ยาฆ่าเชื้อรา  แบบนี้เป็นชนิดกินนะ เป็นวิธีที่ถือว่าดีที่สุด ด้วยยา  Ketoconazole (Itraconazole)   ชื่อเหมือนพวกโทนาฟยาทากลากเกลื้อนเชื้อราบนหนังศีรษะเลยเนอะ    กินวันละ  200 มก.นะ  หรือ  1 เม็ด/วัน   ในปัจจุบันเขานิยมใช้วิธีนี้กันจ้ะเพราะราคายาไม่แพงมาก   กินติดต่อกัน   6  เดือน  สำหรับเชื้อราที่เล็บมือ  แต่ถ้าเป็นเล็บเท้าละก็ โอ้เศร้า   ปาเข้าไป 12  เดือน น่ะถึงจะหายหาย   และต้องรักษาต่อเนื่องนะกิน ๆ หยุด ๆ  ไม่ได้ผลนะจ๊ะ  (อ้อ! ใครปล่อยมีบุตร / ตั้งครรภ์ห้ามกินล่ะ)
  2. ครีมทาฆ่าเชื้อรา  ใช้ทาที่เล็บไม่มักไม่ค่อยได้ผล เพราะตัวยาไม่ซึมผ่านเข้าไปในเล็บ  ไอ้ตัวเชื้อราเนี่ยมันอยู่ในเล็บจ้ะ   แต่กรณีที่เป็นขุย ๆ ที่เล็บก็ใช้ยาตัวนี้ได้ 
  3. ยาทาอีกตัวหนึ่งก็เป็นทางเลือกที่ดีนะ  ในยุโรปเขามียาทารักษาเชื้อราที่เล็บชนิดใหม่  เรียกว่า  Ciclopirox nail laqure   เจ้ายานี้เค้าสามารถซึมผ่านเล็บไปยับยั้งเชื้อราได้  โดยให้ทาวันเว้นวันในช่วงแรก  แล้วค่อย ๆ ลดความถี่ในการทาลง ภายใน  6  เดือน  (ความหวังใหม่ของเราล่ะ ฮึ ฮึ)

และยังมีวิธีการรักษาโรคเชื้อราที่เล็บอีกหลายวิธี ข้างล่างนี้ค่ะ

  • Griseofulvin ยาออกฤทธิ์ยับยั้งการสังเคราะห์ cell wall membrane ของ hyphae เชื้อรา และยังไปขัดขวางการสังเคราะห์ nucleic acid ของเชื้อราด้วย ขนาดรักษา 500-1,000 mg ต่อวัน นานอย่างต่ำ 3 เดือนสำหรับเล็บมือ และ 6 เดือนสำหรับเล็บเท้า หรือจนกระทั่งเชื้อถูกกำจัดหมดไปโดยการตรวจทางห้องปฏิบัติการและอาการทางคลินิกหายด้วย    ผลการรักษาดีปานกลาง แต่มีอัตราการกลับเป็นซ้ำสูง
  • Ketoconazole เป็นยาที่ใช้รักษาเมื่อมีการดื้อต่อ Griseofulvin ยานี้จะระคายเคืองต่อระบบทางเดินอาหารน้อยกว่า griseofulvin แต่มีผลเสียต่อตับ ดังนั้นการรักษาควรตรวจหน้าที่ตับก่อนการรักษาและตรวจเป็นช่วงๆ ในระหว่างการรักษา การรักษาขนาด 200-400 mg ต่อวัน รับประทานพร้อมอาหาร นาน 8-10 เดือน หรือจนกระทั่งเล็บปกติ และเพาะเชื้อราให้ผลลบ
  • Ciclopirox olamine ในรูปของ nail laquer โดยในช่วงแรกให้ทาบ่อยคือวันเว้นวัน หลังจากนั้นค่อยๆ ลดความถี่ของการทายาลงจนเหลือสัปดาห์ละครั้ง ใช้เวลาในการรักษานาน 3-6 เดือน (อันนี้ก็เหมือนวิธี ข้อ 3 ด้านบนน่ะค่ะ)
  • Itraconazole ไม่มีผลเสียต่อตับและระบบต่อมไร้ท่อ ขนาดรักษา 200 mg ต่อวัน นาน 6 สัปดาห์สำหรับเล็บมือ และ 12 สัปดาห์สำหรับเล็บเท้า ให้ผลการรักษาดีกว่า griseofulvin และมีอัตราการเป็นโรคซ้ำต่ำกว่า (อันนี้ก็เหมือนวิธี ข้อ 1  ด้านบนน่ะค่ะ)
            การรักษา short intermittent therapy คือการให้ itraconazole 200 mg วันละ 2 ครั้ง 7 วัน ในสัปดาห์แรกของเดือนติดต่อกัน 2 เดือน สำหรับเล็บมือ และ ติดต่อกัน 3 เดือนสำหรับเล็บเท้า ก็ได้ผลดีเช่นกัน
  • Terbinafine ขนาดรับประทาน 250 mg ต่อวัน อาจแบ่งให้วันละ 2 ครั้ง นาน 6 สัปดาห์สำหรับเล็บมือ และ 12 สัปดาห์สำหรับเล็บเท้า ให้ผลการรักษาดีกว่า griseofulvin และมีอัตราการเป็นโรคซ้ำต่ำกว่า
          สำหรับการถอดเล็บเพื่อรักษาโรคเชื้อรานั้นไม่แนะนำให้ทำ เพราะนอกจากจะไม่ได้ผลดีแล้วยังทำให้เกิดความเจ็บปวดกับผู้ป่วย ซ้ำร้ายถ้ามีการทำลาย nail matrix มากเกินไปอาจทำให้เล็บใหม่บูดเบี้ยวอย่างถาวรหรืออาจไม่มีเล็บขึ้นมาใหม่เลยก็เป็นได้ขอขอบคุณ ภญ.ปิยพร  ชูชีพ

เอกสารอ้างอิง
1.  อภิชาต  ศิวยาธร. Onychomycosis. ใน: อภิชาต  ศิวยาธร, กนกวลัย  กุลทนันทน์. โรคผิวหนังต้องรู้: สำหรับเวชปฏิบัติทั่วไป. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: หมอชาวบ้าน, 2547: 54-6.
2. Lacy CF, Armstrong LL, Goldman MP, Lance LL. Drug information handbook. 11 th ed. Ohio: Lexi-Comp, 2003: 776, 1327.

Read Full Post »

สวัสดดีค่ะ  จากการที่เราเป็นเชื้อราที่เล็บเท้า  แต่ยังไม่ได้ตัดสินใจทานยาเม็ด ได้แต่ใช้ครีมทานั้น เพราะกำลังปล่อยมีน้องอยู่ (แต่ยังไม่มีน่ะ ฮือ..)   เราก็ไปค้นหาข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตน่ะ  คิดว่าใคร ๆ หลายคน อาจรวมถึงคุณด้วย  เวลาที่มีปัญหา หรือมีโรคภัยไข้เจ็บก็จะรีบไปสืบหาข้อมูลมาให้มาก ๆ   เพื่อจะรู้ว่า  ปัญหาหรือโรคที่เป็นอยู่  มีอาการยังไง  สาเหตุคืออะไร   ทำยังไงจึงจะหาย  หาหมอที่ไหน   อุ๊ย  ฝอยมากไปแล้วค่ะ

วันนี้เลยเอาข้อมูลเกี่ยวกับโรคเชื้อราที่เล็บมาฝากเพื่อน ๆ ค่ะ  ก่อนอื่นรู้จักกันก่อนว่าโรคเชื้อราที่เล็บคืออะไร

  • สาเหตุ

โรคเชื้อราที่เล็บ (onychomycosis, Tinea unguium)  เป็นโรคที่รักษาได้ค่อนข้างหายช้าและเรื้อรัง  โรคเชื้อราที่เล็บส่วนใหญ่จะเป็นเชื้อ  Trichophyton rubrum, Trichophyton mentagrophyte  และ  Epidermophyton floccosum 

  • อาการ  

ลักษณะของโรคจะเริ่มเป็นที่ขอบเล็บด้านข้าง ๆ  โดยเป็นพื้นสีขาวทึบๆ  ต่อมาเล็บจะหนาและขรุขระ   ตัวเล็บจะขรุขระเหมือนถูกแทะ  สีจะด้าน  เล็บจะเปราะเป็นขุยหนาและผุ  ในผู้ป่วยที่มีภูมิต้านทานต่ำเช่น เอดส์  จะมีเชื้อราที่เล็บได้ง่าย  ปัจจัยอื่นที่ส่งเสริมการติดเชื้อ  ได้แก่  เบาหวาน  ความชรา  และภาวะการไหลเวียนของเลือดต่ำ

การติดเชื้อพบที่เล็บเท้าได้บ่อยกว่าเล็บมือ   เพราะที่เล็บเท้ามีความอับชื้นสูงและอุบัติการณ์ของการติดเชื้อราที่ผิวหนังสูงกว่า

เชื้อราที่เล็บ

 

 อันนี้เป็นข้อมูลมาจาก ภญ.ปิยพร  ชูชีพ  ในเว็บ www.pharmacy-ss.com

Read Full Post »